วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบบสอบถาม

บทที่๕


บทที่๕
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
๑.  สรุปและอภิปรายผล
       ขนมแนหรำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขนมเจาะหู เป็นขนมพื้นเมืองที่อยู่คู่กับจังหวัดสตูลมาช้านาน  และเป็นขนมโบราณที่เก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี
       ขนมแนหรำ จะทำเฉพาะในวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานประเพณีต่างๆ สำหรับขนมเจาะหูนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบหรือทำบุญชิงเปรต ซึ่งทำกันในเดือน๑๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ค่ำ ๑๕ค่ำ และแรม ๑ค่ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้ว
       กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอขนมแนหรำในรูปของเว็บบล็อก โดยใช้ชื่อเว็บบล็อกว่า ขนมแนหรำ ซึ่งเว็บบล็อกเป็นรูปแบบเว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ภายในบล็อกจะประกอบไปด้วย ข้อความ รูปภาพ ลิงก์ และวีดีโอแสดงวิธีการทำ เพื่อเป็นการแนะนำขนมแนหรำ ให้รู้จักกันแพร่หลาย และเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังๆที่สนใจได้ศึกษาต่อไป เพื่ออนุรักษ์ขนมชนิดนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพราะปัจจุบันผู้ที่ทำขนมชนิดนี้มีจำนวนลดน้อยลง
๒.  ประโยชน์ที่ได้จากการค้นคว้า
     ๑.  ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางเว็บบล็อก
     ๒.  ได้ทราบถึงวิธีการทำขนมแนหรำ
     ๓.  ได้ทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
     ๔.  ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ
     ๕.  ได้เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นหมู่คณะ
     ๖.  มีความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
       การทำรายงานค้นคว้าฉบับนี้ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่องที่จะศึกษาเท่านั้น ยังมีเนื้อหาอีกบางส่วนที่คณะผู้จัดทำยังไม่ได้ศึกษาค้นคว้า ผู้ที่สนใจจึงควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง ขนมแนหรำ ได้ที่แหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

บทที่ ๔


บทที่๔
ผลการดำเนินงาน
๑.  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
     ๑.๑  ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บบล็อก
      ๑.๒  ได้ศึกษาวิธีการทำขนมแนหรำโดยการลงพื้นที่จริง
      ๑.๓  ได้ทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
      ๑.๔  ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ
๒.  ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ต
       การเผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บบล็อกนั้น ทำให้ขนมแนหรำเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีความสะดวก รวดเร็ว ในการค้นคว้าหาข้อมูล และทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยผ่านเว็บบล็อกเรื่อง ขนมแนหรำ
๓.  วิธีการทำขนมแนหรำ
       
.  นำน้ำตาลตั้งบนเตา ใส่น้ำเล็กน้อยแล้วเคี่ยวจนน้ำตาลเดือดและเหนียวข้น
     .  นำน้ำตาลที่เคี่ยวมากรองเอากาก และเศษขยะออก
     .  นำน้ำตาลที่กรองแล้วไปเทผสมกับแป้งข้าวเจ้า ใช้ไม้พายคนแป้งเบาๆ แล้วนวดด้วยมือให้เข้ากันอีกครั้ง ถ้าแป้งเหนียวเกินไปให้ผสมน้ำเล็กน้อย
     .  นำใบตองมาทาน้ำมัน แล้วนำแป้งปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วใช้มือกดให้แบนบนใบตอง ใช้นิ้วเจาะรูตรงกลาง
     .  นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำแป้งที่เรากดจนแบนทอดให้เหลืองสุก แล้วยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
     .  ขนมที่สุกจะมีสีน้ำตาลอมแดง หอมกรุ่นน่ารับประทาน
ข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
       จากการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตและลงพื้นที่ ทำให้ทราบว่าขนมแนหรำกับขนมเจาะหูนั้น เป็นขนมชนิดเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในส่วนของชื่อเรียก ภาคกลางหรือภาคอื่นๆจะเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมเจาะหู แต่จังหวัดสตูลเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมแนหรำ

ประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ
       จากการศึกษา ทำให้ทราบว่า ขนมชนิดนี้เป็นขนมโบราณ ที่มีมาช้านาน นับร้อยๆปีสำหรับขนมเจาะหูนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบหรือทำบุญชิงเปรต ซึ่งประเพณีวันสารทเดือนสิบเป็นประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งทำกันในเดือน๑๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ค่ำ ๑๕ค่ำ และแรม ๑ค่ำ ซึ่งมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วบางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆนานาและได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัส ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตในอบายภูมิ เมื่อถึงวันแรม ๑ เดือน ๑๐ จะได้รับการปลดปล่อยออกมาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันที่ส่งเปรตกลับยมโลก ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง ก่อนถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมทำขนมเจะหู ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นที่ใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือทำบุญชิงเปรต

บทที่ ๓


บทที่ ๓
วิธีการดำเนินงาน

วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
การดำเนินการ
๑๒พ.ย. ๒๕๕๕๑๖พ.ย. ๒๕๕๕
-      ปรึกษา และสรุปหัวข้อรายงาน พร้อมนำเสนอหัวข้อต่อครูที่ปรึกษา
-      เสนอโครงร่างรายงานเรื่องขนมแนหรำ
๑๙ พ.ย. ๒๕๕๕๒๓ พ.ย. ๒๕๕๕
-      จัดทำโครงร่างรายงาน และหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อรายงาน                          เรื่องขนมแนหรำ
-      จัดทำและนำเสนอโครงร่างบทที่ ๑
๒๖ พ.ย. ๒๕๕๕๑ ธ.ค. ๒๕๕๕
-      ศึกษาวิธีการทำบล็อกเสนอข้อมูล
-      เริ่มออกแบบและจัดทำรูปแบบของบล็อก
๒ ธ.ค. ๒๕๕๕๗ ธ.ค. ๒๕๕๕
-      ลงพื้นที่ศึกษาวิธีการทำขนมแนหรำ ที่ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมี        นางฮอเดี๊ยะ  สุมาตรา เป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำขนมแนหรำ แนะนำอุปกรณ์ในการทำขนม และวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในการทำขนม พร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำขนมแนหรำ ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
-      จัดทำและนำเสนอโครงร่างบทที่ ๒
๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๕๒๑ ธ.ค. ๒๕๕๕
-      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันทำบล็อกนำเสนอข้อมูล
-      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันใช้โปรแกรมแต่งภาพ แต่งรูปที่ถ่ายทำในวันลงพื้นที่ศึกษาวิธีการทำขนมแนหรำ ที่ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อใช้นำเสนอในบล็อก และใช้สำหรับภาคผนวก
๒๔ ธ.ค. ๒๕๕๕๔ ม.ค. ๒๕๕๖
-      จัดทำและนำเสนอโครงร่างบทที่ ๓
๔ ม.ค. ๒๕๕๖๑๘ ม.ค. ๒๕๕๖
-      จัดทำและนำเสนอโครงร่างบทที่ ๔
-      นำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ คือวิธีการทำขนม อุปกรณ์ และวัตถุดิบในการทำขนม เสนอลงในบล็อกนำเสนอข้อมูล
๒๐ ม.ค. ๒๕๕๖๒๕ ม.ค. ๒๕๕๖
-      จัดทำและนำเสนอโครงร่างบทที่ ๕
-      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันตกแต่งรูปแบบของบล็อกนำเสนอข้อมูล ให้มีความน่าสนใจ และมีเนื้อหาที่ครอบคลุม
๒๘ ม.ค. ๒๕๕๖๕ ก.พ. ๒๕๕๖
-      ตรวจสอบเนื้อหา และความถูกต้องของรายงาน
-      เข้าเล่มรายงานให้เรียบร้อย สวยงาม สมบูรณ์ รวมถึงตรวจสอบความเรียบร้อยของบล็อกนำเสนอข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
๑๑ ก.พ. ๒๕๕๖๑๕ ก.พ. ๒๕๕๖
-      นำเสนอรายงานขนมแนหรำ



บทที่ ๒


บทที่๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑.  เว็บบล็อก
     ๑.๑  ความหมายของเว็บบล็อก                                     
            บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
             บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก
      ๑.๒  การใช้งานบล็อก
             ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก                                                  ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บบราวเซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น


     ๑.๓  ความนิยมของการใช้บล็อก                                                  
            บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

      ๑.๔  สังคมบล็อก                                                            

      สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ อนึ่งการใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

      ๑.๕  ประโยชน์ของบล็อก
   ๑.๕.๑.  คลังความรู้ มีความรู้มากมายให้ค้นหา ให้อ่านตามความสนใจ
   ๑.๕.๒.  คลังมิตรภาพ เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์จนกลายเป็นมิตรภาพดีๆ
              ๑.๕.๓.  คลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และต่อยอดความรู้ออกไป      
             ๑.๕.๔.  คลังแห่งความสุข เป็นที่ระบายความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และเพิ่มความสุขในชีวิต
             ๑.๕.๕.  คลังข้อมูล ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกที่สำคัญ ช่วยให้เจ้าของข้อมูลสามารถดึงดูดข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว                                                                                         
             ๑.๕.๖.  คลังเพื่อการฝึกฝน เป็นแหล่งฝึกฝนระบบการคิด ทักษะการเขียน และความสามารถด้านถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆ และยังเป็นแหล่งฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้อย่างดีอีกด้วย     
             ๑.๕.๗.  คลัง KM ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีผู้เชียวชาญด้านการจัดการความรู้ (KM) มากมาย อีกทั้งสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM) ได้ง่ายเพียงแค่คลิก 
             ๑.๕.๘.  คลังประชาสัมพันธ์และกิจกรรมงานบุญ เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมมากมาย                                                                                                                                       
            ๑.๕.๙.  คลังเพื่อนช่วยเพื่อน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งทางออนไลน์ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พบว่าเกิดกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ช่วยสอนวิธีการใช้งานบล็อก         
           ๑.๕.๑๐.  คลังแห่งองค์กรต่างๆ บางองค์กรเลือกเว็บไซต์ GotoKnow.org เป็นเครื่องมือเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน                                                                                                                          
           ๑.๕.๑๑.  คลังความรู้ฝังลึก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ที่มี่เป็นคลังความรู้ มีสารประโยชน์ต่างๆ มากมายให้เลือกอ่าน และที่สำคัญความรู้ส่วนใหญ่นั้นเป็นความรู้สึกฝังลึกที่ซ่อนอยู่ ในตัวคนทุกคนนั่นเอง ที่นี่จึงกลายเป็นคลังความรู้ฝังลึกที่ใหญ่มาก และถ้าหากสามารถสกัดความรู้ฝังลึกเหล่านี้ให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้งได้ ที่มี่กลายเป็นคลังแก่นความรู้ได้ต่อไป                                                                                                              และแน่นอนว่าประโยชน์ของบล็อกไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลายข้อ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าสามารถนำบล็อกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

๒.  บล็อกซอฟต์แวร์                                                       

     บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้ ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

         ๒.๑  บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก

      รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ
      ๑.  ดรูปาล (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)                                       
                ๒.  เวิร์ดเพรสส์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)                      
                ๓.  สแลช (เพิร์ล)
                ๔.  ไลฟ์ไทป์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)   
                ๕.  จุมล่า (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)                                                                                                     
                ๖.  แมมโบ้ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)

      ๒.๒  ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก                                                         

             ๑  .บล็อกเกอร์ (กูเกิล)                                                                                           

             ๒.  ไทป์แพด                                                                                                                                   

             ๓.  เวิร์ดเพรสส์                                                                                                               

             ๔.  ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)                                                                                            

             ๕.  วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)                                                                          

             ๖.  มายสเปซ                                                                                                       

             ๗.  มัลติพลาย

      ๒.๓   ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก                                                          

    ๑.  Blognone

                                                                                                                      

    ๒.  เอกซ์ทีน          

                                                                                         

    ๓.  GotoKnow     

                                                                                         

    ๔.  Bloggoo

                                                                                                 

    ๕.  learners.in.th 

                                                                                             

    ๖.  บล็อกแก๊ง

 

     ๗.  โอเคเนชั่น                                                                                                     นอกจากนี้ทางเว็บที่นิยมของไทยอย่าง สนุก.คอม, กระปุก.คอม หรือผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้มีการเปิดให้บริการบล็อก

๓.  ภาษาเอชทีเอ็ทแอล (HTML)
      ๓.๑  HTML คือ        
        HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานสากลที่ใช้นำเสนอข้อมูลแบบผสมผสานในการสื่อสารแบบ World-Wide-Web :WWW ( Web) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Internet) รูปแบบหนึ่ง ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ อื่นๆ จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน ด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาคล้ายกับ สิ่งพิมพ์ สไลด์ หรือ แบบมัลติมีเดีย

       ๓.๒  องค์ประกอบของภาษา HTML                                                                                   เอกสาร html จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ ๒ ส่วน คือ                                             ·       ข้อความที่ต้องการให้แสดงบนจอภาพ                                                   ·       ข้อความที่เป็นคำสั่ง                                                                               โดยคำสั่งในเอกสาร html นี้จะเรียกว่า แท็ก (Tag) โดยแท็กจะต้องขึ้นต้นด้วย < ตามด้วย ชื่อแท็ก ปิดท้ายด้วย > ดังนี้<Tag name>ซึ่งจะเรียกว่า แท็กเปิดแล้วจะต้องปิดท้ายข้อความด้วยแท็กปิด ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้ </Tag name> ชื่อแท็กต่างๆ สามารถพิมพ์ตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ความหมายเหมือนกัน
         ๓.๓  โครงสร้างของภาษา HTML
              โครงสร้างของภาษา html จะประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนที่เป็นส่วนหัว (head) และส่วนเนื้อหา (body) โดยมีรูปแบบภาษาดังนี้
<html>
       <head>
           <title>ข้อความที่ต้องการให้แสดงบนไตเติ้ลบาร์ </title>
       </head>
       <body>
              คำสั่งและข้อความให้แสดงบน browser
      </body>
</html>
๓.๔  หลักการเขียนภาษา HTML แบบง่ายๆ                                                                                                                  
       ๑จัดให้คำสั่งเปิดและปิดในแต่ละชุดคำสั่งอยู่ใน column ตรงกัน                                  
                 ๒.  ข้อความที่ไม่ยาวมาก ถ้ามีคำสั่งเปิดและปิด ให้เขียนในบรรทัดเดียวกัน                            
                 ๓คำสั่งที่มีตัวเปิดและปิด ให้เขียนตัวเปิด/ปิดให้เรียบร้อยก่อนที่จะเขียนข้อความลงไป
เช่น ต้องการเขียน"โฮมเพจของข้าพเจ้า My Homepage"ก็ควรเริ่มด้วย
<H2>  </H2>

<H2><B> </B></H2>
<H2><B>โฮมเพจของข้าพเจ้า My Homepage</B></H2>
วิธีการนี้จะช่วยให้ลดความผิดพลาดลงได้มาก                                                                                                                 
                ๔ข้อความที่อยู่ในคำสั่งเปิดและปิด ให้พิมพ์เยื้องไปทางขวา                                                                
      ๕คำสั่งใดที่อยู่ในคำสั่งเปิดและปิดของคำสั่งอื่น ให้พิมพ์เยื้องไปทางขวามากกว่าเดิมอีกเล็กน้อย



๔.  ประวัติของขนมแนหรำ
       สมัยโบราณคนไทยจะทำขนมก็เฉพาะในวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคน และอาศัยเวลาในการทำอยู่นานพอสมควร ส่วนใหญ่จะเป็นขนมในงานประเพณีต่างๆ
       สำหรับขนมเจาะหูนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบหรือทำบุญชิงเปรต ขนมมีลักษณะคล้ายสตางค์แดงสมัยก่อน
       ประเพณีวันสารทเดือนสิบเป็นประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งทำกันในเดือน10 ตรงกับวันขึ้น 14ค่ำ 15ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ประชาชนถือว่าเป็นช่วงแรกเริ่มเก็บเกี่ยว จึงนำเอาข้าวปลาอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์
แต่ประเพณีงานทำบุญเดือนสิบของชาวใต้เกิดจากคติความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้ว บางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆนานาและได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัสอีกด้วย ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตในอบายภูมิ เมื่อถึงวันแรม 1 เดือน 10 จะได้รับการปลดปล่อยเปรตเหล่านี้มาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ และ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ส่งเปรตกลับยมโลก ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง ก่อนถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมทำขนมแนหรำ ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นที่ใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือทำบุญชิงเปรต

๕.  ส่วนผสม
     .  แป้งข้าวเจ้า                                ๑ กิโลกรัม
     .  น้ำตาลทรายแดง                          ๘ กรัม
     .  น้ำเปล่าเล็กน้อยประมาณ                ๒ แก้วกาแฟ
     .๔  ใบตองขนาประมาณ                        นิ้ว
     .  น้ำมันสำหรับทอด                         ๑ ถุง
๖.  วิธีการทำขนมแนหรำ
        
.  นำน้ำตาลตั้งบนเตา ใส่น้ำเล็กน้อยแล้วเคี่ยวจนน้ำตาลเดือดและเหนียวข้น
       .  นำน้ำตาลที่เคี่ยวมากรองเอากาก และเศษขยะออก
       .  นำน้ำตาลที่กรองแล้วไปเทผสมกับแป้งข้าวเจ้า ใช้ไม้พายคนแป้งเบาๆ แล้วนวดด้วยมือให้เข้ากันอีกครั้ง ถ้าแป้งเหนียวเกินไปให้ผสมน้ำเล็กน้อย
       .  นำใบตองมาทาน้ำมัน แล้วนำแป้งปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วใช้มือกดให้แบนบนใบตอง ใช้นิ้วเจาะรูตรงกลาง
      
      ๖.  นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำแป้งที่เรากดจนแบนทอดให้เหลืองสุก แล้วยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
       .  ขนมที่สุกจะมีสีน้ำตาลอมแดง หอมกรุ่นน่ารับประทาน
ข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
       จากการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตและลงพื้นที่ ทำให้ทราบว่าขนมแนหรำกับขนมเจาะหูนั้น เป็นขนมชนิดเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในส่วนของชื่อเรียก ภาคกลางหรือภาคอื่นๆจะเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมเจาะหู แต่จังหวัดสตูลเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมแนหรำ