บทที่๔
ผลการดำเนินงาน
๑.
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
๑.๑
ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บบล็อก
๑.๒ ได้ศึกษาวิธีการทำขนมแนหรำโดยการลงพื้นที่จริง
๑.๓
ได้ทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
๑.๔
ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ
๒.
ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ต
การเผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บบล็อกนั้น
ทำให้ขนมแนหรำเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีความสะดวก รวดเร็ว ในการค้นคว้าหาข้อมูล
และทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยผ่านเว็บบล็อกเรื่อง ขนมแนหรำ
๓.
วิธีการทำขนมแนหรำ
๓.๑ นำน้ำตาลตั้งบนเตา ใส่น้ำเล็กน้อยแล้วเคี่ยวจนน้ำตาลเดือดและเหนียวข้น
๓.๒ นำน้ำตาลที่เคี่ยวมากรองเอากาก และเศษขยะออก
๓.๓ นำน้ำตาลที่กรองแล้วไปเทผสมกับแป้งข้าวเจ้า ใช้ไม้พายคนแป้งเบาๆ แล้วนวดด้วยมือให้เข้ากันอีกครั้ง ถ้าแป้งเหนียวเกินไปให้ผสมน้ำเล็กน้อย
๓.๑ นำน้ำตาลตั้งบนเตา ใส่น้ำเล็กน้อยแล้วเคี่ยวจนน้ำตาลเดือดและเหนียวข้น
๓.๒ นำน้ำตาลที่เคี่ยวมากรองเอากาก และเศษขยะออก
๓.๓ นำน้ำตาลที่กรองแล้วไปเทผสมกับแป้งข้าวเจ้า ใช้ไม้พายคนแป้งเบาๆ แล้วนวดด้วยมือให้เข้ากันอีกครั้ง ถ้าแป้งเหนียวเกินไปให้ผสมน้ำเล็กน้อย
๓.๔ นำใบตองมาทาน้ำมัน
แล้วนำแป้งปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วใช้มือกดให้แบนบนใบตอง ใช้นิ้วเจาะรูตรงกลาง
๓.๕ นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำแป้งที่เรากดจนแบนทอดให้เหลืองสุก แล้วยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
๓.๖ ขนมที่สุกจะมีสีน้ำตาลอมแดง หอมกรุ่นน่ารับประทาน
๓.๕ นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำแป้งที่เรากดจนแบนทอดให้เหลืองสุก แล้วยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
๓.๖ ขนมที่สุกจะมีสีน้ำตาลอมแดง หอมกรุ่นน่ารับประทาน
๔. ข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู
จากการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตและลงพื้นที่
ทำให้ทราบว่าขนมแนหรำกับขนมเจาะหูนั้น เป็นขนมชนิดเดียวกัน
แต่จะแตกต่างกันในส่วนของชื่อเรียก ภาคกลางหรือภาคอื่นๆจะเรียกขนมชนิดนี้ว่า
ขนมเจาะหู แต่จังหวัดสตูลเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมแนหรำ
๕. ประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ
จากการศึกษา
ทำให้ทราบว่า ขนมชนิดนี้เป็นขนมโบราณ ที่มีมาช้านาน
นับร้อยๆปีสำหรับขนมเจาะหูนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบหรือทำบุญชิงเปรต
ซึ่งประเพณีวันสารทเดือนสิบเป็นประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งทำกันในเดือน๑๐
ตรงกับวันขึ้น ๑๔ค่ำ ๑๕ค่ำ และแรม ๑ค่ำ
ซึ่งมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วบางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ
บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆนานาและได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัส
ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตในอบายภูมิ เมื่อถึงวันแรม ๑ เดือน ๑๐
จะได้รับการปลดปล่อยออกมาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้
และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันที่ส่งเปรตกลับยมโลก
ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง ก่อนถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมทำขนมเจะหู
ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นที่ใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือทำบุญชิงเปรต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น