สมัยโบราณคนไทยจะทำขนมก็เฉพาะในวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำอยู่พอสมควร ส่วนใหญ่เป็นขนมประเพณี
สำหรับขนมเจาะหูนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบหรือทำบุญชิงเปรตมีลักษณะคล้ายสตางค์แดงสมัยก่อน เปรตจะนำไปใช้ในเมืองนรกแทนเงินหรือเป็นเครื่องประดับ
ประเพณีวันสารทเดือนสิบเป็นประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งทำกันในเดือน10 ตรงกับวันขึ้น 14ค่ำ 15ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ประชาชนถือว่าเป็นช่วงแรกเริ่มเก็บเกี่ยวจึงนำเอาข้าวอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์
แต่ประเพณีงานทำบุญเดือนสิบของชาวใต้เกิดจากคติความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วบางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆนานาและได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัสอีกด้วย ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตในอบายภูมิ เมื่อถึงวันแรม 1 เดือน 10 จะได้รับการปลดปล่อยเปรตเหล่านี้มาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ และ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ส่งเปรตกลับยมโลก ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมทำขนมเดือนสิบ ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นที่ใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือทำบุญชิงเปรต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น