วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ ๑


บทที่ ๑

บทนำ

        ขนมเจาะหู เป็นขนมชนิดหนึ่งในงานบุญสารทเดือนสิบของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความเชื่อกันว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้ว บางคนก็ได้รับความสุขสบายบางคนก็ได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆนานาในนรกภูมิจึงมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้
        ขนมเจาะหู มีลักษณะเป็นวงกลม มีรูตรงกลางคล้ายๆกับเหรียญในสมัยก่อนทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับน้ำตาลทรายแดง ทอดด้วยน้ำมันมีรสชาติหอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นาน แม้จะไม่แช่ไว้ในตู้เย็น
และขนมเจาะหูมีลักษณะเหมือนกับขนมท้องถิ่นของชาวจังหวัดสตูลชนิดหนึ่งคือ ขนมแนหรำ

๒.๑ เพื่อเผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปของเว็บบล็อก

๒.๒ เพื่อศึกษาวิธีการทำขนมแนหรำ

๒.๓ เพื่อหาข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู

๒.๕ เพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำขนมแนหรำแตกต่างจากขนมเจาะหู ในเรื่องของส่วนผสมและชื่อเรียก

๔. ขอบเขตของการดำเนินงาน

๔.๑ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขนมแนหรำ และลงพื้นที่

๔.๒ ระยะเวลาของการทำโครงงานคือ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๕๕

๔.๓ แหล่งค้นคว้าข้อมูลคือ บทสัมภาษณ์ และอินเทอร์เน็ต

๕.๑ ได้เผยแพร่วิธีการทำขนมแนหรำผ่านทางเว็บบล็อก

๕.๒ ได้ทราบถึงวิธีการทำขนมแนหรำ

๕.๓ ได้ทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างขนมแนหรำกับขนมเจาะหู

๕.๔ ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมแนหรำ

๑. เว็บบล็อก (webblog) คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่สามารถแสดงเรื่องราว ข่าวสาร ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ และลิงค์ต่างๆ

๒. ไม้พาย คือ ไม้ที่มีลักษณะแบน คล้ายกับไม้พายของเรือแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรำคนแป้ง

๓. โบราณ หมายถึง มีอายุมาก หรือเก่าแก่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น